จดหมายจาก ผอ.พอช.

จดหมายจาก ผอ.พอช. (5)

จดหมายจาก ผอ.พอช.

(ฉบับที่ 5 วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561)

กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ช่วงที่หายไปอาจจะทำให้พวกเราคิดถึงจดหมายข่าวจากพี่กันบ้างไหม หลังจากที่ห่างหายไปช่วงเวลาหนึ่ง ด้วยภารกิจที่มีมากมาย ก็ขอเอาข้อมูลข่าวสารความคืบหน้ามาเล่าสู่น้องๆ ฟังอีกครั้งนะครับ — จากการสัมมนาผู้ปฏิบัติงาน ประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 18 - 20 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ณ เดอะ บลูม รีสอร์ท อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา พวกเราก็ได้ทำกิจกรรมเพือสร้างความสัมพันธ์ต่อกันทั้งผู้ปฏิบัติงาน พอช. และพี่น้องขบวนที่ดิน-บ้านมั่นคง จ.นครราชสีมา รวมทั้งเราได้กำหนดข้อตกลงร่วม ใน 8 เรื่อง ประกอบด้วย 1) เราจะสร้างความสำเร็จด้วยการทำงานเป็นทีม 2) เราเชื่อว่าการพัฒนาที่องค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน 3) เรามีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ และทุกสิ่งอย่างที่เราปฏิบัติ 4) เรายึดมั่นในความถูกต้องเป็นธรรม 5) เราเป็นนักแก้ปัญหาและมุ่งมั่นทำงานให้เกิดผลสำเร็จ 6) เราเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 7) เราสร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกับภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนในการพัฒนาสังคม 8) เราสื่อสารงานที่ถูกต้องชัดเจนตรงกัน และจากที่พวกเราได้เห็นชอบร่วมกันนั้น ผอ.ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง “คณะทำงานพัฒนาบุคลากร อัตลักษณ์ วัฒนธรรมองค์กร และธรรมาภิบาล” โดยจะมีการจัดทำแผนงานในการส่งเสริมและรณรงค์อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น การจัดทำโปสเตอร์ สติ๊กเกอร์ ป้ายรณรงค์ ฯลฯ และให้เป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนาบุคลากรของส่วนงาน เนื่องจากค่านิยมองค์กรของ พอช. ได้เป็นส่วนหนึ่งของแผนส่งเสริมคุรธรรมของกระทรวง พม. เช่นกัน — สำหรับการประชุมกับผู้บริหาร พม. จะมีการประชุมทุกวันพุธ/สัปดาห์ และเมื่อวันพุธที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้ร่วมประชุมกับ รมว.พม. และคณะผู้บริหาร และ รมว.ระบุว่าต้องการยกระดับการทำงานของพอชให้ทำงานยุทธศาสตร์มากขึ้นโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจน ดังนั้น เจ้าหน้าที่ต้องได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องกระบวนทัศน์การทำงานแนวใหม่ วิธีการทำงานแนวใหม่ และ พอช. จะต้องจัดทำข้อมูลและสื่อวิดีทัศน์ ความยาว 2-3 นาที เพื่อเสนอต่อ รมว. และในการประชุม ครม. เป็นลำดับถัดไป โดยในประเด็นแรกที่จะนำเสนอนั้นเป็นเรื่องของสภาองค์กรชุมชน เป็นกลไกในการหนุนเสริมชุมชนเข้มแข็ง และในสัปดาห์ต่อไปจะนำเสนอเกี่ยวกับโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นโครงการบ้านมั่นคง บ้านมั่นคงชนบท (ที่ดินสปก.) บ้านพอเพียงชนบท และคนไร้บ้าน เพื่อให้รัฐบาลได้รับรู้ รับทราบ และเข้าใจต่อการหนุนเสริมขบวนองค์กรชุมชนในการพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน — และในช่วงที่ผ่านมาส่วนกลางได้มีการประสานไปยังทีมวิชาการภาค ในการจัดทำข้อมูล การรายงานผลการดำเนินงานสำคัญในแต่ละสัปดาห์ โดยมีการตั้งคณะทำงานข้อมูลของ พอช. ขึ้นมาหนึ่งชุด ซึ่งจะมีการรายงานข้อมูลจากทุกจุดทุกสัปดาห์ในกลุ่มไลน์ CODI IO เพื่อใช้เป็นข้อมูลให้ผู้อำนวยการไปรายงานที่ พม. ทุกวันพุธ ทั้งนี้จะสื่อสารข้อมูลไปยังกลุ่มไลน์ต่างๆ เพื่อให้รับรู้สถานการณ์ร่วมกันต่อไป — ช่วงวันที่ 7-11 กุมภาพันธ์ พี่ได้เข้าร่วมประชุม World Urban Forum สมัยที่ 9 ณ Kuala Lumpur Convention Center(KLCC) กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย จัดขึ้นโดยสำนักงานโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UNHABITAT) จัดให้มีพิธีเปิดในวันที่ 8 ก.พ. มีผู้เข้าร่วมการประชุมในระดับรัฐมนตรี และเทียบเท่าจำนวน 100 คน และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมือง และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกว่า 22,000 คน จาก 165 ประเทศ โดยมีนาย Najib Razak นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เป็นประธานในพิธี สาระสำคัญในการประชุมนี้คือ Cities 2030-Cities for All : Implementing the New Urban Agenda” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกแบ่งปันประสบการณ์และร่วมหาแนวทางในการยกระดับการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน และนำการพัฒนาเมืองไปสู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และในวันที่ 9 ก.พ. มีการประชุมโต๊ะกลมระดับสูงในหัวข้อ “Cities for All and Housing at the Center” ซึ่งพี่ทิพย์รัตน์  นพลดารมย์ ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศของ พอช. ทำหน้าที่ผู้แทนกระทรวง พม. ร่วมนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานของประเทศไทย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยสำหรับคนไทยทุกคน รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น เพื่อบรรลุถึงความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของประเทศในอนาคต — ระหว่างวันที่ 12 - 13 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา สำนักงานยุทธศาสตร์และเชื่อมโยงขบวนชุมชน พอช. ร่วมกับขบวนองค์กรชุมชน 5 ภาค จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาคนในขบวนองค์กรชุมชน 3 ปี (พ.ศ. 2561-2563) ขึ้น ณ โรงแรมทาวน์อินทาวน์ โดยมีเป้าหมายคือ ผู้นำและขบวนองค์กรชุมชนสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นไปสู่การจัดการตนเองและเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยวางหลักคิดสำคัญในการพัฒนาคนในขบวนองค์กรชุมชนนั้น ต้องสร้างการเรียนรู้ ใช้ความรู้ภูมิปัญญา ร่วมพลังภาคี ในการขับเคลื่อนอย่างมียุทธศาสตร์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยพลังองค์กรชุมชน และหลักการ เรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learning by doing) หรือ ทำไป คิดไป เรียนรู้ไป มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน จากผู้แทนขบวนองค์กรชุมชน 5 ภาค ประชาสังคม และนักวิชาการ สำหรับทิศทางการพัฒนาคนในขบวนองค์กรชุมชน ปี 2561-2563 นั้น  มีทิศทางสำคัญ คือ 1) การยึดเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคน “ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง” 2) การใช้พื้นที่เปนตัวตั้ง มีการพัฒนาทีมในระดับตำบลเพื่อสร้างเครือข่าย 3) การพัฒนาคนต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อน 3-5 ปี โดยต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมไปพร้อมกัน 4) เน้นการปฏิบัติการจริง  5) มีวิธีการพัฒนาหลายวิธี ไม่ใช่การอบรมเพียงอย่างเดียว  6) การพัฒนาต้องพัฒนาอย่างน้อย 3 กลุ่ม ประกอบด้วย การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำที่มีทักษะเชิงประเด็น และพัฒนาสมาชิก 7) ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และ 8) พัฒนาองค์กรชุมชนควบคู่กับผู้นำชุมชน ในการนี้หลักการพัฒนาต้องให้ความสำคัญในการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การพัฒนาอบรม การสอนงานผ่านการเรียนรู้เชิงพื้นที่ เรียนรู้เชิงประเด็น และต้องมีการเปิดพื้นที่ให้กว้าง (Open House) เชื่อมโยงภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วม และการพัฒนาคนต้องมีแผนยุทธศาสตร์ก่อน เพื่อให้รู้ว่าจะพัฒนาคนไปสู่เป้าหมายอะไร ในด้านการพัฒนาคนก็ต้องพัฒนาองค์กรชุมชนไปด้วยกัน เป็นต้น — เมื่อวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีเวทีประชุมแนวทางในการผลักดันการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเชิงรุก เพื่อให้การบริหารแผนงานบรรลุตามเป้าหมาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยมีคณะกรรมการสถาบันฯ คณะอนุกรรมการนโยบายและแผนงาน ประธานอนุกรรมการภาค 5 ภาค ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการภาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วม เพื่อหารือแนวทางในการผลักดันการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเชิงรุก ให้การบริหารแผนงานบรรลุผลตามเป้าหมาย พร้อมจัดทำแผนผังโครงสร้างการทำงาน และกลไกคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และส่วนงานภายในสถาบันฯ โดยมีการวิเคราะห์การดำเนินงานของภาค ทั้งในส่วนที่เป็นปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัด และจัดแข็งจากการแปลงยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ เป้าหมายและตัวชค้วัดสู่การปฏิบัติในห้วงเวลาที่ผ่านมา รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่ลงสู่พื้นที่ ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียนการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อการวิเคราะห์ ทบทวน/ปรับปรุงและพัมนาการดำเนินงานต่อไป โดยเฉพาะการคิดและปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการหรือรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ที่มีความทันสมัยสอดรับกับการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ระบบสารสนเทศในการทำงานมากขึ้น มีการออกแบบแนวทางในการพัฒนาและยกระดับข้อมูล รวมถึงการใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือ พร้อมทั้งพัฒนางานวิชาการในส่วนขององค์กรและขบวนชุมชน ซึ่งองค์ความรู้ของผูเปฏิบัติงานในบางเรื่องยังไม่เพียงพอ จะต้องมีการวิเคราะห์ความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อยกระดับศักยภาพที่สัมพันธ์กับเป้าหมายการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการประสานความร่วมมือกับสถาบันวิชาการ และภาคีวิชาการในพื้นที่ รวมทั้งการออกแบบวิธีการขับเคลื่อนงานที่สอดคล้องกับบริบทของภาค เพื่อให้บรรลุผลเชิงยุทธศาสตร์ โดยมีการเสนอผลการดำเนินงานและประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงาน รายไตรมาสทั้งผลที่เป็นผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ รวมถึงปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น โดยใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน โดยในช่วงต่อไปจะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน คณะทำงานสวัดิการชุมชน และคณะทำงานพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มจากคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการสถาบันฯ จำนวน 14 คณะ และคณะทำงาน 29 คณะ ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2561 โดยการทำงานของคณะอนุกรรมการ คณะทำงาส่วนกลางจะต้องเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกันให้มากที่สุด ภายใต้คณะอนุกรรมการประสานงานขบวนองค์กรชุมชน — ในปี 2561 สถาบันฯ มีแผนการพัฒนาบุคลากรและโครงการ/กิจกรรมสำคัญอยู่ 7 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการส่งเสริมกลุ่มกิจกรรมทางสังคม และกลุ่มจัดการความรู้ ที่จะเน้นการส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ในลักษณะของเครือข่ายเพื่อนชุมชน โดยในงานการจัดการความรู้จะส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่จัดการความรู้ในงานของตนเอง หรืออาจจะทำร่วมกับชุมชน และมอบรางวัลในงาน KM DAY ให้กับกลุ่มที่มีผลงานที่ดีน่าสนใจ  (2) โครงการสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร โดยจะมีการส่งเสริมและรณรงค์อย่างต่อเนื่องใน 8 ค่านิยมที่ผู้ปฏิบัติงานได้เห็นชอบร่วมกัน ในลักษณะการจัดทำโปสเตอร์ สติ๊กเกอร์ ฯลฯ และให้เป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนาบุคลากรของส่วนงาน เนื่องจากค่านิยมองค์กรของ พอช. ได้เป็นส่วนหนึ่งของแผนส่งเสริมคุรธรรมของกระทรวง พม. ด้วย (3) การหมุนเวียนผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ จะเริ่มดำเนินการในระดับผู้บริหารระดับสูง และระดับกลาง รวมถึงระดับปฏิบัติการในบางตำแหน่ง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีการพัฒนาตนเองเพิ่มมากขึ้น (4) การพัฒนาความก้าวหน้าของบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ซึ่งจะสัมพันธ์กับการพัฒนาใน 3 ระบบ คือ ระบบ Career Development  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานของสถาบันได้เติบโตในสายงานที่เหมาะสม การพัฒนาระบบ Talent Management เพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงานที่มีศักยภาพสูง และการพัฒนาระบบ Succession Plan เพื่อทดแทนผู้ปฏิบัติงานในระดับบริหารที่จะเกษียณการทำงานในอนาคต ซึ่งทั้งหมดเพื่อการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้เป็นคนดี คนเก่ง เป็นความหวังขององค์กร (5) สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรระดับบุคคลและระดับส่วนงาน เน้นการพัฒนาระดับกลุ่ม/สำนัก  มากกว่าปัจเจก สำหรับงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาจะโอนงบประมาณไปให้แต่ละสำนัก ก็ต่อเมื่อส่วนงานได้การจัดทำ JA และแผนพัฒนาบุคลากรของส่วนงานจัดส่งมาที่สำนักทรัพยากรบุคคล (6) การพัฒนาผู้ปฏิบัติงานตามสมรรถนะกลุ่มตำแหน่ง และความก้าวหน้าสายอาชีพ (7) การประเมินผลงานการปฏิบัติงานประจำปี 2561 แยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดส่วนงาน 2) ผลการดำเนินงานรายบุคคล รวม 70 คะแนน (มาจาก KPI 30 + JA30 + IDP10) และส่วนที่เป็นการประเมินคุณลักษณะ รวม 30 คะแนน (มาจากเพื่อน20 + ผู้ประเมิน 10) ทั้งนี้จะมีวงประเมิน 4 ระดับ เน้นการจัดวงพูดคุยเพื่อการพัฒนาบุคลากรในส่วนงานเป็นหลัก โดยสำนักทรัพยากรจะแจ้งรายละเอียดและขั้นตอนไปยังส่วนงานอีกครั้ง — สำหรับเครื่องแบบปกติขาว ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถาบันฯ แล้ว ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในช่วงเดือนเมษายน 2561 หลังจากนั้นสำนักทรัพยากรบุคคลจะประสานส่วนงานเพื่อให้แต่ละคนแจ้งความประสงค์ในการสั่งตัดชุด และสั่งซื้อเครื่องประดับประจำชุดต่อไป หรือผู้ปฏิบัติงานท่านใดไม่ประสงค์สั่งตัด สั่งซื้อ สำนักทรัพยากรบุคคลจะมีชุดกลางเพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ขอยืมได้ — อย่างไรก็ตามพี่ขอเน้นย้ำขอให้ทุกภาควางแผนการเบิกจ่ายงบประมาณโดยเฉพาะเรื่องที่อยู่อาศัยอย่างละเอียด โดยขอให้แต่ละภาคจัดส่งแผนการเบิกจ่ายภายใน 2 สัปดาห์ ...ไม่ได้พบกันนาน เลยมีเรื่องเล่ามาเล่าให้น้องๆ ฟังยาวเหยียดเลย อย่างไรก็ขอขอบคุณ CODI TEAM ที่ช่วยกันขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายขององค์กร แล้วพบกันใหม่ในฉบับต่อไปนะครับ...สวัสดีครับ

         

                                                พี่หรั่ง

                                                22 ก.พ. 2561

จดหมายจาก ผอ.พอช.

(ฉบับที่ 4 วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2560)

ในช่วงสัปดาห์นี้อากาศค่อนไปทางหนาว ทำให้คน กทม. ได้มีโอกาสได้ใส่เสื้อกันหนาวกันเลยทีเดียว อย่างไรก็ขอให้พวกเรารักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ — เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา พลเอกอนันตพร  กาญจนรัตน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ได้ตรวจเยี่ยมสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พร้อมทั้งมอบนโยบายในการบริหารงาน  โดยมีผู้บริหาร , เจ้าหน้าที่สถาบันฯ และตัวแทนเครือข่ายชาวชุมชนจากโครงการบ้านมั่นคง  ชุมชนริมคลอง  สภาองค์กรชุมชน  สวัสดิการชุมชน  คนไร้บ้าน  ฯลฯ  ประมาณ 100 คนให้การต้อนรับ ทั้งนี้พลเอกอนันตพรได้เดินชมนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานต่างๆ ของสถาบันฯ และเครือข่ายองค์กรชุมชน  และซักถามด้วยความสนใจ   หลังจากนั้นจึงรับฟังการบรรยายสรุปจากทางสถาบันฯ ที่ห้องประชุมไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ  ได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินโครงการของสถาบันฯ  โดยซักถามถึงความคืบหน้าในการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง ปทุมธานีโมเดล เจ้าพระยา เครือข่ายการดำเนินงานทั่วประเทศของสถาบัน โครงการประชารัฐ พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการเสนอตัวเลขและข้อมูลผลการดำเนินของสถาบันฯ เพื่อนำไปประกอบการเสนอของบประมาณจากรัฐบาล นอกจากนี้ รมว.พม.ยังเสนอความเห็นว่าหากประชาชนสามารถนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาซื้อสินค้าที่ชุมชนผลิตได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี  เพื่อช่วยสนับสนุนสินค้าจากชุมชน  ซึ่งตนพร้อมที่จะสนับสนุน  แต่ต้องทำเป็นโมเดลขึ้นมา  เพื่อนำไปเสนอต่อรัฐบาล ทั้งนี้หลังจากเสร็จจากการรับฟังบรรยายในห้องประชุมแล้ว  พลเอกอนันตพรได้เดินตรวจเยี่ยมสำนักงานต่างๆ ในสถาบันฯ และทักทายกับเจ้าหน้าที่ด้วยความเป็นกันเอง  รวมทั้งยังได้อุดหนุนสินค้าที่สภาองค์กรชุมชนตำบลเนินฆ้อ  อ.แกลง  จ.ระยอง  นำมาจำหน่ายด้วย — ถัดมาก็มีงานในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชน ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 ธันวาคม 2560  ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  ใช้ชื่อการประชุมครั้งนี้ว่า 1 ทศวรรษสภาองค์กรชุมชน  น้อมนำศาสตร์พระราชา  เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย”  โดยมีผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลที่มาจากตัวแทนแต่ละจังหวัดๆ ละ 2 คน  รวมทั้งตัวแทนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมทั้งหมดประมาณ 200 คน  และในวันที่ 15 ธันวาคม ได้มีการยื่นข้อเสนอทางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง พม. ต่อ พลเอกอนันตพร  กาญจนรัตน์  รมว.พม. เพื่อนำไปพิจารณาแก้ปัญหา ส่วนปัญหาการจัดการน้ำ-ที่ดิน-ป่าไม้-ทะเล-ความมั่นคงทางอาหาร  ฯลฯ  จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการต่อไป รวมทั้งข้อเสนอทางนโยบายที่ได้จากการประชุมครั้งนี้จะนำไปเสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำแผนปฏิรูปประเทศไทย  นับตั้งแต่มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา  จนถึงขณะนี้มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลทั่วประเทศแล้ว  จำนวน 6,579  สภา  คิดเป็นร้อยละ 84.08 ของจำนวนตำบล/เทศบาล/เขตทั่วประเทศ (7,825 แห่ง) โดยมีกลุ่มและองค์กรต่างๆ เข้าร่วมจัดตั้งกว่า  136,847  กลุ่ม/องค์กร  รวมจำนวนสมาชิกทั้งหมด  219,574  คน  และในปีงบประมาณ 2561 รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณเพื่อสนับสนุนภารกิจของสภาองค์กรชุมชนฯ จำนวน  97 ล้านบาทเศษ   ทั้งนี้ พอช.มีเป้าหมายภายในปี 2562 จะสนับสนุนการจัดตั้งสภาฯ ให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ  หรือประมาณ  7,825  แห่ง   “ในอีกห้าปีข้างหน้า  พอช.  จะเน้นเรื่องการสร้างคุณภาพให้กับสภาองค์กรชุมชนฯ ทั้งหมดที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศไปพร้อมๆ กับความร่วมมือ และการบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน  เพื่อให้ทิศทางการพัฒนาประเทศเกิดความสมดุลอย่างแท้จริง  มีเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน  ซึ่งตรงตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  โดยจะน้อมนำเอาศาสตร์ของพระราชา  ‘เข้าใจ  เข้าถึง และพัฒนา’  เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็งต่อไป” — ระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคมนี้   ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  กรุงเทพฯ  มีการสัมมนา ‘นโยบายและกลไกการขับเคลื่อนนโยบายคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน’  โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากคณะกรรมการสถาบันฯ และที่ปรึกษา  ผู้บริหารสถาบันฯ และเจ้าหน้าที่   คณะอนุกรรมการประสานงานขบวนองค์กรชุมชน  ผู้แทนภาคประชาสังคม  และผู้แทนหน่วยงานภาคี  เช่น  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  กรมธนารักษ์  ธกส.  กองทุนสิ่งแวดล้อม  สถาบันป๋วย  อึ๊งภากรณ์  ฯลฯ  รวมทั้งหมดประมาณ  80 คน  ด้วยขณะนี้ พอช. มีคณะกรรมการสถาบันฯ ชุดใหม่  จึงต้องมีการทบทวนนโยบาย  และเสนอนโยบายการขับเคลื่อนงานของ พอช. ในช่วง 3 ปีข้างหน้า  คือตั้งแต่ปี 2561-2563  รวมทั้งแผนงานในระยะยาว  เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศที่กำลังเปลี่ยนแปลง  โดยจะต้องเน้นการทำงานเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ  เน้นการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มีจุดเด่น ทั้งงานสภาองค์กรชุมชนฯ  งานสวัสดิการชุมชน งานพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง  งานบ้านมั่นคง  เป็นต้น  และจากการสัมมนาในครั้งนี้ นำร่างนโยบายคณะกรรมการสถาบันฯ พ.ศ.2561-2563  มี 4 ด้าน ดังนี้  คือ ด้านที่ 1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่น  สู่รูปธรรมการจัดการตนเองอย่างมีคุณภาพ ด้านที่ 2 การผนึกพลังเครือข่ายภาคีพัฒนาความร่วมมือในลักษณะพหุภาคีอย่างบูรณาการ ด้านที่ 3 การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาแกนนำและขบวนองค์กรชุมชนในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ด้านที่ 4 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการองค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมพิจารณา ปรับปรุง เพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้ร่างนโยบายดังกล่าวมีความสมบูรณ์  และเกิดการมีส่วนร่วมจากภาคีและเครือข่ายองค์กรชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งมีข้อเสนอให้ พอช.จัดทีมวิชาการเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์  ให้มีการสื่อสารพื้นที่รูปธรรมจากชุมชนสู่สาธารณะมากขึ้น   ปรับปรุงการทำงานของ พอช.ให้สั้นกระชับ  แตกต่างจากราชการ  รวมทั้งปรับปรุงระเบียบต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน   ปรับวิธีคิดการทำงานให้ทันต่อสถานการณ์  และไม่ทำงานเฉพาะเป้าหมายหรือเฉพาะกิจกรรมของตนเอง ฯลฯ — สำหรับสถานการณ์และความคืบหน้าของขบวนองค์กรชุมชนกับการปฏิรูปประเทศไทย คาดว่าขบวนองค์กรชุมชนจะต้องเกาะติดกับการปฏิรูปประเทศไทย ประมาณ 5 ปี ที่ผ่านมามีเวทีแลกเปลี่ยนและพัฒนาข้อเสนอภาคประชาชนเพื่อการปฏิรูปไปแล้ว 2 ครั้ง และขบวนองค์กรชุมชนได้ส่งข้อเสนอการปฏิรูปการประเทศไทยต่อคณะกรรมการปฏิรูปชุดต่างๆ เพื่อใช้ไปประกอบในการจัดทำแผนการปฏิรูปซึ่งต้องจัดทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2560 และจะยื่นข้อเสนอกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ภายในวันที่ 24 มกราคม 2561 — จากการประชุมบอร์ด พอช. เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2560 ที่ผ่านมา บอร์ดได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาหนึ่งชุด (คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน) เพื่อปรับและนำเสนอ (ร่าง) นโยบายคณะกรรมการฯ ต่อคณะกรรมการสถาบันฯ พิจารณาอีกครั้งหนึ่งในปี 2561 — คณะกรรมการ พอช. มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะทำงานติดตาม ระบบงานภาค พัฒนาตัวชี้วัด นวัตกรรม ซึ่งเป็นคณะทำงานที่ต่อเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างองค์กร มีองค์ประกอบจาก ที่ปรึกษา/คณะกรรมการ พอช. ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ พอช. เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อเป็นกลไกในการติดตาม ประเมินผลหลังปรับโครงสร้างการทำงาน และพัฒนาตัวชี้วัดงานพัฒนาไปพร้อมด้วย — การประชุมคณะกรรมการ พอช. เมื่อเดือนพฤศจิกายน และ ธันวาคม 2560 มีมติเห็นชอบแต่งตั้งผู้บริหารสถาบัน จำนวน 4 ท่าน ดังนี้ (1) ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ 2 ท่าน ได้แก่ 1) นายอัมพร แก้วหนู กำกับดูแลกลุ่มงานยุทธศาสตร์ โดยกลุ่มงานยุทธศาสตร์ต้องปรับบทบาทในการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ ทำงานวิชาการ/ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ ไม่เน้นการลงพื้นที่ และ 2) นายธีรพล  สุวรรณรุ่งเรือง กำกับดูแลกลุ่มงานพื้นที่ (2) ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ 2 ท่าน ได้แก่ 1) นางสาวเฉลิมศนี ระดากูล ผู้อำนวยการภาคกรุงเทพฯ และ 2) นางอุดมศรี ศิริลักษณาพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ นอกจากนั้นคณะทำงานบริหารงานบุคล (กบ.) มีมติเห็นชอบแต่งตั้งผู้บริหารระดับกลาง 2 คน ได้แก่ 1) นายกมล ปุยยะรุนเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการภาค กทม./ตะวันออก (ฝ่ายปฏิบัติการพื้นที่) 2) นางบุษกร ธาตวากร เป็นหัวหน้าสำนักการเงินและบัญชี และแต่งตั้งผู้บริหารระดับต้น 1 คน คือ นางดวงเดือน พร้าวตะคุ เป็นหัวหน้างานปฏิบัติการชุมชน ภาคเหนือ ก็ขอแสดงความยินดีกับทุกคนด้วยนะครับ  และในปี 2561 นี้พี่จะบริหารร่วมกับรองผู้อำนวยการมากขึ้น มีการประชุมทุกเช้าวันอังคาร เพื่อประเมินและสรุปงานร่วมกันมากขึ้น — และในการประชุมบอร์ดครั้งนี้ มีมติเห็นชอบเครื่องแบบปกติขาวของเจ้าหน้าที่ พอช. ในงานราชพิธีต่างๆ และการแต่งกายมาทำงานของเจ้าหน้าที่ พอช. เห็นควรให้มีการใช้ผ้าไทยเพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเพิ่มรายได้ให้กับ ชุมชน โดยใช้ผ้าสีน้ำเงิน และมีตราสัญลัษณ์ พอช. ด้วย — และในช่วงที่ผ่านมา ได้ขอความร่วมมือกับสำนักงานภาค ทั้ง 5 ภาค ในการกำหนดพื้นที่ที่จะเสนอให้ รมว.พม. ได้ลง เพื่อได้เห็นภาพการพัฒนาในพื้นที่ ซึ่งจากการประชุมร่วมกับท่าน รมว.พม. ในช่วงที่ผ่านมานั้น ท่านเน้นเน้นการประชุมที่เรียบง่าย ดูที่ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ รวมถึงเรื่องข้อมูลผลการดำเนินงาน และงบประมาณ รวมทั้งมีการประชุมเพื่อติดตามงานกับผู้บริหาร/อธิบดีหรือเทียบเท่าในวันพุธแรกของเดือน — พี่เองได้ร่วมประชุมกับปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง “พม.มอบของขวัญปีใหม่ 2561” โดยจะมอบของขวัญ 9 อย่าง (กรมละ 1 อย่าง) ซึ่ง “พอช. มอบบ้านพอเพียงชนบท 2,561 ครัวเรือน” (จาก15,000 ครัวเรือน) และได้ฝากให้ ผอ.ทั้ง 5 ภาค ช่วยดำเนินการ และอาจเตรียม พท. ให้รมว.มอบเงินในการซ่อมแซมบ้านหรือบ้านที่ซ่อมแซมแล้วเสร็จ และในช่วงเดือน ธ.ค. 2560 – ม.ค. 2561 รมว.พม. มีตารางลงพื้นที่ ตามโครงการ ONE HOME ดังนั้นจึงขอความร่วมมือผู้อำนวยการภาค ในการเตรียมข้อมูลพื้นที่ว่ามีพื้นที่ภาคใดบ้างที่มีความพร้อมเพื่อดำเนินการร่วมกับ พม.ต่อไป ซึ่งอาจจะจัดร่วมกับหน่วยงาน พม.อื่นๆ ในจังหวัด — เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ที่ผ่านมา มีการประชุมคณะจัดการ ซึ่งจะประชุมกันเดือนละครั้ง และจะมีการประชุมทางไกลร่วมกับสำนักงานภาคเพื่อเล่าถึงสถานการณ์ และมอบนโยบายไปพร้อมกัน ซึ่งเดือน ม.ค. จะมีการประชุมในวันที่ 25 ม.ค. 2561 — สำหรับ งบกลางปี 2561 รมว. พม. เปิดโอกาสให้หน่วยงานจัดทำแผนเสนองบประมาณกลางปี 2561 ในกรณีงบประมาณที่มีอยู่ไม่เพียงพอหรือมีความจำเป็น โดยให้นำเสนอช่วงประมาณ ม.ค. – ก.พ. 61 จะต้องเป็นโครงการที่มีความพร้อม สามารถดำเนินการได้ทันที แล้วเสร็จภายใน ก.ย.61 เห็นผลลัพธ์ ผลผลิตที่ชัดเจน ที่ประชุมเห็นควรเสนอของบกลางปี 61 ใน 4 ประเด็นงานสำคัญ ประกอบด้วย (1) สวัสดิการชุมชน เนื่องจากมีฐานข้อมูลจำนวนสมาชิกที่ชัดเจนอยู่แล้ว โดยอาจขอทั้งงบสมทบกองทุน และการพัฒนาคุณภาพกองทุน (2) บ้านพอเพียง อาจเสนอขอเพิ่มเติมทั้งในส่วนของพื้นที่เดิม ซึ่งงบประมาณการก่อสร้างไม่เพียงพอ หรือพื้นที่ใหม่ และได้มีการจัดทำแผนการดำเนินการไว้แล้ว (3) สภาองค์กรชุมชน อาจเสนอทั้งงบพัฒนาคุณภาพสภาองค์กรชุมชน และการพัฒนาศักยภาพแกนนำ (4) เศรษฐกิจและทุนชุมชน สามารถเสนอพื้นที่เดิม แต่ควรเน้นการเชื่อมโยงเครือข่าย/คลัสเตอร์ ทั้งนี้ ขอให้แต่ละภาคนำส่งข้อมูลรายชื่อตำบล จำนวนหน่วย/ผู้รับประโยชน์ภายในวันที่ 29 ธ.ค. 60 มายังสำนักนโยบายและแผน — ในวันที่ 17 ม.ค. นี้ จะให้มีการ “สรุปงานไตรมาส 1” โดยกลุ่มเป้าหมายคือ หัวหน้างานขึ้นไป จัดที่ พอช.ส่วนกลาง ทั้งนี้ขอให้แต่ละภาค/สำนัก เตรียมข้อมูลนำเสนอ ส่วนงานละ 10 นาที — การสัมมนาเจ้าหน้าที่ ประจำปี 2561 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 20 มกราคม 2561 ณ เดอะ บลูม รีสอร์ท อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยออกเดินทางจาก พอช. เวลา 07.00 น. ของวันที่ 18 มกราคม 2560 และจะเดินทางกลับจากสถานการจัดสัมมนาในวันที่ 20 มกราคม เวลา 09.00 น. ซึ่งการสัมมนาดังกล่าว จะมีการมอบเสื้อโปโลสีน้ำเงินให้ผู้ปฏิบัติงานได้ใส่ โดยขอสมทบจากผู้ปฏิบัติงานคนละ 100 บาท และพี่ๆ ตั้งแต่หัวหน้างาน – หัวหน้าสำนัก – ผู้ช่วย ผอ.ภาค – ผอ.ภาค และผู้บริหาร จะสมทบค่าเสื้อเพิ่มเติม ถือเป็นการมอบของขวัญให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคน และพี่เองอยากจะมอบหมวก เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้พวกเราทุกคน ในส่วนนี้อดใจรอกันนิดนึงนะครับ — ในช่วงที่ผ่านมาทีมบริหารจะดำเนินการทบทวนนโยบายการบริหารองค์กรให้สอดคล้องกับภารกิจและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยอาจมีการปรับโครงสร้างในบางส่วนงาน  คณะทำงานบริหารงานบุคคลจึงเห็นชอบให้ชะลอการคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานตามอัตราว่างก่อน — ก่อนปิดท้ายขอแสดงความยินดีกับพวกเราทุกคนนะครับ กับความตั้งใจในการทำงานให้กับองค์กรและพัฒนาขบวนองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง วันที่ 25 ธ.ค. นี้ทุกคนก็จะได้รับเงินเดือนค่าจ้างอัตราใหม่ในเดือนธันวาคม 2560 พร้อมเงินตกเบิก รวมถึงลูกจ้างโครงการที่มีสิทธิได้รับการเลื่อนเงินเดือนค่าจ้าง รวม 42 คน ได้รับการเลื่อนค่าจ้างในอัตราร้อยละ 5 ซึ่งจะได้รับค่าจ้างอัตราใหม่ในเดือนธันวาคม 2560 พร้อมตกเบิก 2 เดือน — ก่อนจากกันก็ขอให้ทุกคนดูแลสุขภาพ ทำงานให้มีความสุข “รวมใจเป็นหนึ่ง เพราะเราคือ CODI FAMMILY”///สวัสดีครับ

         

                                                พี่หรั่ง

                                                22 ธ.ค. 2560

จดหมายจาก ผอ.พอช.

(ฉบับที่ 3 วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2560)

สวัสดีทุกคน เป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่บรรจบมาพบกันอีกครั้งนะครับ พี่ได้มีโอกาสคุยกับวงต่างๆ ทั้งกับพวกเราเอง และพี่น้องขบวนองค์กรชุมชนทั้งในระดับชาติ และในพื้นที่ มีภารกิจผูกพันธ์ค่อนข้างเยอะพอสมควร ก็ขอควบรวมจดหมายข่าวของวันศุกร์ที่ 24 พ.ย. และ ศุกร์ที่ 1 ธ.ค. ไปพร้อมกันเลยละกันนะครับ — ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา เครือข่ายชาวเลอันดามัน  และหน่วยงานภาคี  จัดงาน ‘รวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 8’ขึ้น  ที่บ้านทับตะวัน  ต.บางม่วง  อ.ตะกั่วป่า  จ.พังงา  โดยมีชาวเลและเครือข่ายต่างๆ เข้าร่วมงานประมาณ 1,000 คน  ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการ  การแสดงศิลปะ  วัฒนธรรม  และนำเสนอปัญหาต่างๆ ของชาวเล  โดยมีนายธีรพงษ์  ศรีสุคนธ์  รองอธิบดี  กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  มารับมอบข้อเสนอของเครือข่ายชาวเล พี่เองได้มีโอกาสร่วมวงเสวนาเรื่อง ‘รัฐธรรมนูญกับเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธ์’  มีผู้เข้าร่วม  เช่น  พลเอกสุรินทร์  พิกุลทอง  ประธานกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในที่อยู่อาศัย  พื้นที่ทำกิน  และพื้นที่ทางวิญญาณของชุมชนชาวเล , พี่แดง(เตือนใจ  ดีเทศน์)  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ , ด้วง(ปรีดา  คงแป้น)  กรรมการมูลนิธิชุมชนไท  และตัวแทนชาวเล รวมถึงก่อนหน้าวันงานพี่ก็ได้มีโอกาสได้ลงพื้นที่ชาวเลราไวย์ และบ้านมั่นคงชุมชนสระต้นโพธิ์ จ.ภูเก็ต พี่มองว่าปัญหาของชาวเลเป็นปัญหาทางโครงสร้าง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม  และกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ  ได้จัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย 20 ปี  คือภายในปี 2579 ประชาชนจะต้องมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี  และเมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลได้มีคำสั่งให้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาที่อยู่อาศัย  โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  มีคณะอนุกรรมการ 3 ชุด  เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา  ขณะที่ พอช. ก็มีแผนงานที่จะสนับสนุนชุมชนในการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน  ที่อยู่อาศัย  และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างครบวงจร “เรื่องการเสนอร่าง พ.ร.บ.เขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมฯ เป็นเรื่องที่ดี  แต่ต้องใช้ระยะเวลา  ดังนั้นสิ่งที่พี่น้องสามารถทำได้เลย  คือการจัดทำพื้นที่นำร่องในการคุ้มครองทางวัฒนธรรมเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม  หรือเป็นพื้นที่นำร่อง  10 ชุมชน  โดยต้องกำหนดเป้าหมาย  เช่น  ภายใน 1 ปี  จะต้องทำเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัย  ทำเรื่องการท่องเที่ยวชุมชน  และทำเรื่องการวางแผนพัฒนาในทุกมิติภายใน 5 ปี  และสิ่งที่สำคัญคือ พี่น้องชาวเลต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเอง  มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับคนอื่นๆ” — และเมื่อวันที่ 20-21 พ.ย. ที่ผ่านมา มีวงประชุมอนุกรรมการประสานงานขบวนองค์กรชุมชน ครั้งที่ 1/2560 ที่ห้องประชุมศรีวรา บี โรงแรมทาวน์อินทาวน์ จากการประชุมครั้งนี้ได้คุยกันถึงแนวทางการขับเคลื่อน และแผนการปฏิรูปประเทศไทย จะเห็นว่ามีหลายนโยบายที่เกี่ยวข้องนั้นลงสู่ชุมชนโดยตรง เช่น sand box นำร่องในพื้นที่ต่างๆ นโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่ควรทำคู่ขนานกับนโยบายปฏิรูป คือ การสร้างพื้นที่รูปธรรมให้เป็นจริง แนวทางการดำเนินงานของ พอช. นั้นมีแนวทางสำคัญคือ 1) การใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เราทำงานร่วมกับภาคีมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 2) การสร้างพื้นที่รูปธรรมให้พี่น้องรรลุเป้าหมาย 3) การพัฒนาคนในขบวนทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ 4) การบริหารจัดการองค์กร ใช้หลักธรรมาภิบาลทั้งกับองค์กร และขบวนองค์กรชุมชนมากขึ้น เช่น ปี 2561 อาจจะมีการสอบทานประเด็นงานสำคัญ และปี 2561 จะเน้นการพัฒนาคุณภาพคนและงานเป็นหลัก จากเวทีดังกล่าวจะต้องมีการจัดทำข้อมูลเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนในเวทีรับฟังความคิดเห็นในระดับภาค/พื้นที่ต่อไป — วันที่ 23 พ.ย. 2560 ที่ผ่านมา มีวงประชุมคณะกรรมการสถาบันฯ ครั้งที่ 12/2560 ที่ ห้องประชุมไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ก็มีหลายเรื่องที่พี่อยากจะเอามาสื่อสารหรือเล่าให้พวกเราได้รู้กัน...เรื่องแรก ขอแสดงความยินดีกับการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง ประกอบด้วย 1) นางอุดมศรี  ศิริลักษณาพร ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.60 และ 2) นางสาวเฉลิมศรี  ระดากูล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการภาค ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 60 เรื่องที่สอง คณะกรรมการสถาบันฯ เห็นชอบการปรับกรอบตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ จาก 2 อัตรา เป็น 3 อัตรา โดยเห็นชอบให้ปรับกรอบตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการเป็นรองผู้อำนวยการ จำนวน 2 อัตรา ซึ่ง สำนักทรัพยากรบุคคล ได้ทำการประกาศเปิดรับสมัคร เพื่อคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานภายใน เพื่อดำรงตำแหน่งดังกล่าว 2 อัตรา ประกอบด้วย 1) รองผู้อำนวยการ ที่จะมาบริหารและกำกับดูแลภาพรวมกลุ่มงานพื้นที่ และ 2) รองผู้อำนวยการ บริหารและกำกับดูแลภาพรวมของกลุ่มงานยุทธศาสตร์ โดยผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นตามสถาบันฯ กำหนด จะต้องแสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ “แนวทางการบริหารองค์กรและการบริหารงานในตำแหน่งที่แสดงความจำนง” ในวันที่ 4 ธ.ค. นี้ ตั้งแต่เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป ซึ่งการปรับโครงผู้บริหารระดับสูงในครั้งนี้ พี่เชื่อว่าเป็นการปรับเพื่อให้เห็นการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์และบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ พอช. นั้นดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่เราตั้งใจไว้ — เรื่องที่สาม ในการประชุมคณะกรรมการสถาบันฯ ในครั้งนี้ พี่ได้มีโอกาสเสนอแผนการบริหารองค์กรของพี่ต่อคณะกรรมการฯ ซึ่งก็เป็นแผน 1 ปี และ 4 ปี r แผน 1 ปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 (พฤศจิกายน  2560 – 30  กันยายน  2561) ที่ดำเนินการสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของสถาบันฯ   รวมทั้งนโยบายของคณะกรรมการสถาบันฯ ประกอบด้วย 8 แผนงาน คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นมีระบบพัฒนาไปสู่การจัดการตนเอง ! แผนงานที่ 1 : การพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท เป้าหมายการดำเนินงานคือ 1.1 บ้านมั่นคง 6,710 ครัวเรือน , 1.2 ที่อยู่อาศัยริมคลอง  2,498 ครัวเรือน , 1.3 คนไร้บ้าน 2 ศูนย์ , 1.4 บ้านพอเพียงชนบท 15,000 ครัวเรือน , 1.5 ที่อยู่อาศัยชั่วคราว 1,200 ครัวเรือน  วิธีการทำงานคือ จัดทีมทำงานปฏิบัติการภาคผสมระหว่างทีมเมืองและทีมชนบท เพื่อให้รับผิดชอบในเชิงพื้นที่/กลุ่มจังหวัด (Area based) , ประสานการทำงานร่วมกับประชาสังคม วิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง , พัฒนาแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเมือง/ตำบล/จังหวัด เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ  , มีการปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร (Information operation : IO) เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะและฝ่ายนโยบาย , จัดทีมฏิบัติกรเฉพาะงานพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง ! แผนงานที่ 2 : การส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง (โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน 500 ตำบล) วิธีการทำงานคือ เชื่อมโยงเครือข่าย (Cluster) ธุรกิจชุมชนประเภทเดียวกัน ให้มาทำงานร่วมกัน เพื่อผลักดันนโยบายและสนับสนุนการทำงาน , ประสานหน่วยงานภาคีหนุนเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน , สรุปบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างพื้นที่รูปธรรมตำบล ! แผนงานที่ 3 : การสนับสนุนการเชื่อมโยงและบูรณาการแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่แผนยุทธศาสตร์จังหวัด จำนวน 500 ตำบล และ 22 จังหวัด ฝึกอบรมทีมงานและผู้นำระดับตำบล/จังหวัด ให้สามารถจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดระยะ 4-5 ปี ได้ , ผลักดันแผนภาคประชาชนทั้งระดับตำบลและระดับจังหวัด ให้เชื่อมโยงและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาศักยภาพคนในขบวนองค์กรชุมชนและองค์กรชุมชน ! แผนงานที่ 4 : การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพแกนนำและขบวนองค์กรชุมชน มีเป้าหมายการดำเนินงานคือ 4.1 การจัดตั้งและพัฒนาคุณภาพสภาองค์กรชุมชนตำบล 1,870 ตำบล , 4.2 การสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน 500 ตำบล , 4.3 การพัฒนาศักยภาพแกนนำเพื่อการเปลี่ยนแปลง 3,000 คน วิธีการทำงานคือ จัดฝึกอบรมผู้นำชุมชนในเชิงพื้นที่ (ตำบล/เมือง) และเชิงประเด็น , การพัฒนาการบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาลของขบวนองค์กรชุมชน , การสอบทานโครงการเพื่อยกระดับการบริหารงานของขบวนองค์กรชุมชน  ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การจัดระบบความสัมพันธ์ของชุมชนท้องถิ่นและภาคีที่เกี่ยวข้องสู่ความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและนโยบาย ! แผนงานที่ 5 การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีพัฒนา วิธีการทำงานคือ จัดทำโครงการและความร่วมมือระหว่าง พอช. กับภาคีการพัฒนา และประชาสังคม  , จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองระหว่าง พอช. กับกรมธนารักษ์ สปก. และมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร ! แผนงานที่ 6  การพัฒนาระบบข้อมูล  องค์ความรู้ และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ มีวิธีการทำงานคือ ปรับปรุงฐานข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลคนจนของรัฐบาล , จัดทีมข้ามส่วนงานในงานสื่อสารและการจัดการความรู้ , จัดโครงข่ายการสื่อสารผ่าน Social media ระหว่างทีมบริหารกับเจ้าหน้าที่ และระหว่าง พอช. กับขบวนองค์กรชุมชน , ส่งเสริมระบบการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ! แผนงานที่ 7  ระบบการกำกับและบริหารองค์กร วิธีการทำงานคือ ส่งเสริมการบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล โดยเปิดเผนยข้อมูลโครงการและงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจาก พอช. , จัดให้มีการติดตามผลการทำงาน กับหัวหน้าระดับต่าง ๆ ทุก 3 เดือน , ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน , ปรับโครงสร้างการทำงานให้เหมาะสมกับภารกิจและสถานการณ์ โดยเพิ่มตำแหน่งรองผู้อำนวยการ เพื่อรับผิดชอบงานนโยบายและงานยุทธศาสตร์/จัดตั้งสำนักส่งเสริมภาคประชาสังคม/จัดตั้งสำนักสื่อสารและจัดการความรู้ เพื่อรับผิดชอบงานด้านการสื่อสาร จัดการความรู้ และงานนวัตกรรมขององค์กร , เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสำนักงานภาค  5 ภาค , จัดส่งรายงานความก้าวหน้ารายเดือนให้กับ พมจ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวง ! แผนงานที่ 8  การบริหารและพัฒนาบุคลากร วิธีการทำงานคือ ศึกษาเพื่อทบทวนโครงสร้างเงินเดือนและสวัสดิการ , จัดทำแผนยุทธศาสตร์บริหารทรัพยากรบุคคล 2561-2564 , จัดทำแผนพัฒนากลุ่มคนรุ่นใหม่ (Young Talent) , ฝึกอบรมวิชาชีพผู้บริหารทุกระดับ , มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานระหว่างสำนักงาน และภาค , มีการหมุนเวียนบุคลากรระดับบริหาร ...ถือว่าเป็นภารกิจที่พวกเราพี่น้อง พอช. จะต้องบริหาร ปฏิบัติการ และขับเคลื่อนไปพร้อมกัน เพื่อให้เป้าหมายนี้บรรลุผล ซึ่งในบางส่วนก็อาจจะมีการปรับโครงเพื่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนงานต่อไป และในการปรับเปลี่ยนบางจุดนี้ก็ต้องเสนอต่อคณะกรรมการสถาบันฯ ในครั้งต่อไป เชื่อว่าหลายคนอาจจะมีคำถามในใจหรือคำถามที่เคยถามออกมาดังๆ ว่า “ทำไม พอช. ถึงปรับโครงสร้างบ่อยจัง?” นั่นเพราะ พอช. ดำเนินงานมา 17 ปี และพี่เชื่อว่าพี่ๆ ผอ.ท่านที่ผ่านมาๆ ก็เห็นเหมือนกันกับพี่ว่า การปรับโครงสร้างองค์กรนี้เป็นการให้พวกเรานั้นไม่คิดบนกรอบเดิม นั่นคือ การทำงานที่ต้องมีระบบคิดใหม่ๆ และสร้างสรรค์ทีมทำงานให้มากและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้เท่าทันกับสถานการณ์ รวมถึงการบริหารงานของพี่นั้นมีแนวคิดที่จะพัฒนาคนรุ่นใหม่ขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับต้นและระดับสูงให้ได้ อาจจะมีวิธีการให้เขาเหล่านั้นได้พัฒนาตนเอง เข้าครอสฝึกอบรม เป็นต้น r สำหรับแผนการบริหารกิจการของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พ.ศ.2561 – 2564 พี่จะเอามาสื่อสารให้พวกเรารับรู้ และรับทราบในฉบับต่อไปก็แล้วกันนะครับ — ดังที่ได้แจ้งไปแล้วเบื้องต้น ในเรื่องของ งาน “สัมมนาประจำปี 2561” ภายใต้ธีม 17 ปี CODI Family ทำความดีด้วยหัวใจ” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 มกราคม 2561 นี้ คาดว่าน่าจะใช้สถานที่แถวๆ เขาใหญ่ พวกเราจะได้สัมผัสอากาศหนาวและธรรมชาติให้มากๆ วัตถุประสงค์ในการจัดงานนี้ก็เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของคนทำงาน และเราจะสร้างค่านิยม และแสดงอัตลักษณ์อันงดงามของเราชาว พอช. ไปพร้อมกัน ในปีนี้เราจะทำเสื้อสีน้ำเงินมอบให้กับผู้ปฏิบัติงาน พอช.ทุกคน เพื่อแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียว ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการผลิตนั้นก็จะมีการสมทบกันระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน โดยพี่ได้มอบหมายให้มีคณะอำนวยการจัดงานที่เป็นผู้แทนจากทุกสำนัก/สำนักงาน และมาจากคน 3 รุ่น มาช่วยคิดคิด ช่วยกันออกแบบ และช่วยกันดำเนินการให้งานนี้นั้นบรรลุผล ซึ่งจะประชุมครั้งแรกในวันที่ 8 ธ.ค.60 นี้ — เป็นที่ฮือฮา หลังจาก พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ปรับ ครม. เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยพลตำรวจเอก อดุลย์  แสงสิงแก้ว ได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และในวันที่ 30 พ.ย. นี้ ผู้บริหาร พอช. , ผู้ปฏิบัติงาน พอช. , ตัวแทนผู้นำชุมชน ร่วมพิธีอำลา รมว.พม. “คนดีไม่มีวันตาย” โดย พอช. ได้มอบกรอบรูปภาพให้กับท่าน เพื่อเป็นของที่ระลึก และแต่งตั้ง พลเอก อนันตพร  กาญจนรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งแต่วัที่ 1 ธันวาคม 2560 นี้ — มาเรื่องสุดท้ายที่ใกล้ตัวพวกเราเป็นอย่างมากคือ “เรื่องเงินยืมทดรองจ่าย” พี่ขอกำชับและขอความร่วมมือกับพวกเราทุกคน ให้มีการวางแผนและใช้ประมาณการค่าใช้จ่ายให้ตรงตามวัตถุประสงค์ / ใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายตามความจริงให้มากที่สุด และปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันฯ อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการคืนเงินสดคงเหลือและเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายให้ตรงตามวันที่กำหนด และในกรณีส่งคืนเงินสดคงเหลือมากกว่าร้อยละ 20 ของวงเงินที่ยืม จะต้องชี้แจงเหตุผลประกอบในการคืนเงินยืมทดรองจ่ายด้วย เพื่อให้การบริหารองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น — ฉบับนี้ก็ถือว่าเนื้อหาสาระหนักพอสมควร ก็อยากให้พวกเราทุกคนมีสุขภาพดี ทำงานอย่างมีความสุข///สวัสดีครับ

         

พี่หรั่ง

1 ธ.ค. 2560

จดหมายจาก ผอ.พอช.

(ฉบับที่ 2 วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2560)

          ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา อากาศก็เปลี่ยนบ่อย เดี๋ยวฝน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยหนาว ยังไงก็รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ จากจดหมายฉบับปฐมบทได้เวียนให้พี่น้อง พอช. ได้ออกสู่สายตา พี่เองได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากพวกเรา ที่ทำให้ได้ทันต่อสถานการณ์งานทั้งข้างนอกข้างใน พี่ก็ยังขอเน้นย้ำว่าจะใช้ช่องทางนี้แหละในการสื่อสารกับพวกเรา ที่นอกเหนือจากเวทีประชุม เราจะได้รู้ข้อมูลข่าวสาร/สถานการณ์ไปพร้อมๆ กัน นะครับ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า — เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา พี่ได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน มหกรรมขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี2560 สู่ทศวรรษใหม่ “โนวเจีย เมียนเซาะ” กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้ลด  ณ ตลาดน้ำราชมงคล ม.เทคโนโลยีราชมงคลภาคอีสาน อ.เมือง จ.สุรินทร์ ที่ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสุรินทร์ จัดงานร่วมกับ สภาองค์กรชุมชนจังหวัดสุรินทร์ , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ , ประชาสังคมสุรินทร์สร้างสุข , ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สุรินทร์ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ถือว่างานดังกล่าว เป็นเวทีที่ทำให้เห็นถึงการสานพลังเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน สร้างพื้นที่กลางในการเรียนรู้ และผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมเสนอต่อหน่วยงานและองค์กรภาคี โดยมีผู้เข้าร่วมจากสภาองค์กรชุมชน120 ตำบล 17 อำเภอ ประมาณ 700 คน ในงานยังมีการจัดประชุมสามัญสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดสุรินทร์ 136 ตำบล สภาองค์กรชุมชนตำบลจะเป็นกลไกสำคัญ ที่จะเข้ามาช่วยเหลือแก้ปัญหาคนยากคนจนได้อย่างดี อาจเริ่มจากการสำรวจ คนสุดซอยช่วยตนเองไม่ได้ เพราะเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง , การเสวนา “บูรณาการภาคี” , “ทิศทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยแก่ผู้ยากไร้”, การนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี , พิธีมอบบ้านพอเพียง 5 ตำบล 117ครัวเรือน งบประมาณรวม 2,027,821 บาท , การประกาศเจตนารมณ์แนวทางนโยบายสาธารณะของคนสุรินทร์, การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เยาวชนต้นกล้า กันตรึมบ้านดงมัน พร้อมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการยุทธศาสตร์โนวเจียเมียนเซาะ และการออกร้านขายสินค้าจากชุมชน — และเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.30 น. พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) พร้อมด้วย นายพุฒิพัฒน์ เลิศเชาวสิทธิ์ ปลัดกระทรวง พม. และมีพี่เขียว , พี่ และทีมงาน(ตา,จิ้ม,เกมส์) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560 ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยในระยะยาว 3 คณะ ประกอบด้วย 1) คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผนงานพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยมี รมว.พม. เป็นประธาน 2)คณะอนุกรรมการด้านการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย โดยมีรองปลัด พม. ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน และ 3) คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและระเบียบเพื่อที่อยู่อาศัย โดยมีปลัด พม. เป็นประธาน และมอบหมายให้ทั้ง 3 คณะขับเคลื่อนแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และดำเนินการตามมติ ครม. ต่อไป  ซึ่งแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชน สนับสนุนให้มีที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐาน มีสภาพแวดล้อมที่ดี สร้างโอกาสในการเข้าถึงระบบการเงินและสินเชื่อเพื่อการอยู่อาศัย และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกระดับเพื่อนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์(Vision) “คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในปี 2579”   — และเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2560 พี่ , ทวย , น้องๆ จากสำนักงานยุทธศาสตร์และเชื่อมโยงขบวนชุมชน ได้เข้าพบและประชุมกับ นพ.อำพล  จินดาวัฒนะ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เพื่อปรึกษาหารือประเด็นยุทธศาสตร์การปฏิรูปที่เกี่ยวข้องกับภารกิจบทบาท พอช. หรือที่เราทราบกันว่าในช่วงที่ผ่านมา กมธ.ด้านสังคมได้ใช้สัญลักษณ์ขบวนรถไฟ 13 โบกี้ เพื่อเป็นขบวนในการสร้างระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งการหารือและพูดคุยในครั้งนี้ ได้คุย Concept งานที่ พอช. ดำเนินการอยู่ ประกอบด้วย 1) การผลักดันสถานะ พอช. จาก พรฎ. เป็น พ.ร.บ. ซึ่งแท้จริงแล้วเจตนารมย์เดิมของ พอช. นั้น ไม่ต้องการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ แต่อยากให้ชุมชนเข้มแข็ง แม้สถานะจะเป็น พ.ร.บ. หรือ พรฎ. ก็สามารถขับเคลื่อนงานตามเป้าหมายได้ และการดำเนินงานของ พอช. ในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา พอช.มีองค์ความรู้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งเมืองและชนบท ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแผนแม่บท 20 ปี กล่าวคือ “พอช. ควรเป็นองค์กรขนาดเล็ก และทำงานประสานเชื่อมโยงทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ประชาสังคม ท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ขบวนองค์กรชุมชน” 2) การปรับ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ก็ถือว่าอยู่ระหว่างการรับฟังความเห็นของภาคีที่เกี่ยวข้อง ในช่วงปี 2560 ตัวแทนขบวนองค์กรชุมชนได้เข้าพบ อ.มีชัย  ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ซึ่งท่านได้ฝากไว้ใน 2 ห้าม 1 ควร คือ (1) ห้ามให้ระบบการเมืองมายุ่งกับสภาองค์กรชุมชน เพราะจะเกิดการแข่งขันกัน สร้างความขัดแย้งขึ้นภายใน (2) ห้ามบริหารงานแบบราชการ และ (3) ควรให้สภาองค์กรชุมชนรักษาความเป็นชาวบ้าน หรือขบวนชุมชนให้มาก ให้สภาฯ เป็นเวทีหรือกระบวนการปรึกษาหารือ 3) เศรษฐกิจฐานรากสัมมาชีพชุมชน ซึ่งเรื่องเศรษฐกิจนั้นครอบคลุมทุกมิติ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สุขภาพ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งระบบเศรษฐกิจฐานรากนี้ไม่ได้ปฏิเสธระบบทุนใหญ่ที่เข้ามา เพราะอย่างไรเราก็ให้ความสำคัญกับเรื่องปากท้องของพี่น้องชาวบ้าน และ พอช. เองจะต้องจัดองค์กรให้มีภารกิจด้านนี้ชัดเจนมากขึ้น ที่ไม่ใช่บทบาทที่ทำเอง แต่เป็นนักสานพลังและสานต่อหรือต่อยอดกับภาคีเครือข่ายที่เราทำงานร่วมกัน 4)   ร่าง พ.ร.บ.สวัสดิการชุมชน พ.ศ. .... ที่ผ่านมามีการร่างหลักเกณฑ์ร่วมกับ พม. เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับ พ.ร.บ.สวัสดิการสังคม และจากเวทีนี้เอง เป็นการเพิ่มเติมปรับแก้เนื้อหาสาระหลักการสำคัญต่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านสังคมที่มี นพ.อำพล เป็นประธานในคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง จากข้อสรุปเบื้องต้นดังกล่าวให้ พอช. ช่วยวิเคราะห์ สรุปหลักการ สาระสำคัญ สิ่งที่ต้องการรายการแก้ไข อาทิ พ.ร.บ.สภากรองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 , ร่าง พ.ร.บ.สวัสดิการชุมชน พ.ศ. ....  และแผนส่งเสริมสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจและสัมมาชีพชุมชน ที่ทำในรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ(CBM) และการพัฒนาระบบ Matching Model แล้วที่ประชุมได้เน้นย้ำการปฏิรูปเชิงพื้นที่ที่นำไปสู่การทำตำบลเข้มแข็งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอำนาจหน้าที่ การขจัดอุปสรรคข้อจำกัด และเพิ่มพลังความสามารถของชุมชนสามารถจัดการตนเองได้อย่างมีคุณภาพ  ในช่วงที่ผ่านมาคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ได้จัดทำ (ร่าง) ประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านสังคมเบื้องต้นรวม 5 เรื่อง ประกอบด้วย (1) การออม สวัสดิการ และการลงทุนเพื่อสังคม (2) กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม (3) การจัดการข้อมูลทางสังคมและองค์ความรู้ (4) ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง และ (5) การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การรับรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม ซึ่งต้องนำไปรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านสังคมดังกล่าว จากภาคส่วนต่างๆ อาทิ ภาครัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ สื่อมวลชน กลุ่มประชาชนทั่วไป เพื่อนำผลมาประกอบการพิจารณาจัดทา (ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคมต่อไป

 

 

 

          — การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว ระหว่างการทำงานคลองมาเกือบจะ 2 ปี ก็จะมีบ้างที่มีข่าวคราวที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว และในแต่ละสัปดาห์จะมีการประชุมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ การจัดทำข้อมูล หรือการจัดทำระบบการตอบข้อชี้แจง ในกรณีที่มีเรื่องร้องเรียน และทุกเช้าวันจันทร์จะต้องเข้าร่วมประชุมที่ พม. เพื่อรายงานภาพรวมโครงการคลองลาดพร้าว / ความคืบหน้าการก่อสร้างบ้าน / ความคืบหน้าการดำเนินการรายเขต/กิจกรรมสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมี รมว.พม. เป็นประธาน และในวันจันทร์ที่ 20 พ.ย. 2560 นี้ เป็นการประชุมครั้งที่ 91 ซึ่งผู้บริหาร และทีมงานที่เกี่ยวข้องมีความตั้งใจ และมีความมุ่งมั่นที่จะบริหารและดำเนินงานการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าวนั้นให้บรรลุเป้าหมาย และดำเนินการกันอย่างเต็มที่ — ใกล้ถึงเทศกาลแห่งความสุขของคนทำงาน พอช. แล้ว นั่นคือ งาน “สัมมนาประจำปี” ซึ่งปี 2561 คาดว่าจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 มกราคม 2561 นี้ และน่าจะชวนพวกเราทีมเล็กๆ มาช่วยกันคิดและออกแบบกัน และอาจจะมีช่วงเวลาก่อนสัมมนาสัก 1 / ครึ่งวัน ให้ทีม CODI CHIEF” กลุ่มผู้บริหาร ซึ่งก็ได้มีโอกาสใช้ช่องทางไลน์ CODI CHIEF นี้สื่อสารเรื่องราวต่างๆ เหมือนกัน) สรุปงานไตรมาส 1 และแนวทางการขับเคลื่อนงานในไตรมาส 2 และมีการกำหนดค่านิยมร่วมของคน พอช. เพื่อการทำงานสู่ผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน โดยมีการจัดกลไก/คณะทำงานสักชุด เพื่อออกแบบและแปลงค่านิยมนี้ไปสู่การปฏิบัติร่วมกัน “พี่อยากจะให้เกิดการฟื้นฟูความสัมพันธ์ ความเป็นพี่เป็นน้อง และการทำงานข้ามสำนัก/หน่วยงาน ถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือแบ่งปันกันให้มากขึ้น เพื่อให้ พอช. ของเรา เป็นองค์กรแห่งความสุข มีความสุขในการทำงาน มองเป้าหมายขององค์กรให้เป็นเรื่องร่วมร่วมกัน” — ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. นี้ ทีม CODI CHIEF” ทั้งสำนักงานภาค และส่วนกลาง จะมีวงประชุมระบบการบริหารโครงการ และระบบงานสนับสนุน ประจำปี 2561 เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการและขั้นตอนการบริหารโครงการ รวมถึงจะมีการอบรมหรือพัฒนาศักยภาพ อบรมการใช้โปรแกรมจากระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการปฏิบัติงาน สำหรับ หัวหน้างาน/ชำนาญการ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน เหมือนเป็นการย่อระบบ IT ของ พอช. มาไว้ที่ปลายนิ้ว โดยใช้มือถือเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการทำงานให้มากขึ้น — อยากเชิญชวนและขอความร่วมมือพวกเราทุกคน ช่วยกันจัดระเบียบ หรือปรับภูมิทัศน์โต๊ะทำงาน สำนักงาน และที่ทำงาน ให้มีความสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย ให้เป็นที่น่าประทับใจของผู้ที่มาติดต่อ หรือเวลาชาวบ้าน/หน่วยงานภาคีมาร่วมประชุมก็จะได้เห็นภาพที่สวยงาม สบายตา และสบายใจ พี่เชื่อว่าพวกเราเองเมื่อเห็นบรรยากาศที่สวยงาม ก็จะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุขด้วย — อยากจะเขียนเรื่องราวบอกเล่าให้พวกเราได้ทันสถานการณ์ทุกสัปดาห์ อยากเขียนและบอกเล่าให้สั้นกระชับ แต่ก็มีความสุขและตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้เล่าเรื่องราว จดหมายจากพี่จึงมีเนื้อหายาวและอัดแน่นนิดนึง อย่างไรก็จะลองปรับและแก้ไขไปเรื่อยๆ ก็แล้วกันนะ///สวัสดีครับ

         

                                                พี่หรั่ง

                                                17 พ.ย. 2560

          สวัสดีครับพี่น้อง พอช. ทุกคน ...หลังจากที่ได้ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการ พี่มีความตั้งใจมากที่อยากจะสื่อสารไปยังน้องๆ ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้รับรู้และรับทราบข้อมูลข่าวสารโดยทั่วกัน ในช่วงที่ผ่านมาได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีประชุมกับพวกเราทุกภาค และมีความตั้งใจอยากจะมีเวทีให้พวกเราได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนระหว่างกันให้มากขึ้น ก็ขอใช้ช่องทางการสื่อสารที่เรามีอยู่ทุกช่องทางนี้ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวทั้งระดับนโยบาย สถานการณ์ของสังคม และการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรของเรา ในการสร้างวัฒนธรรม อัตลักษณ์ภาพลักษณ์ขององค์กร — เรื่องแรก ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา ทีมผู้บริหาร พอช. ได้ร่วมประชุมเพื่อวางทิศทางการทำงาน ปี 2561 ณ จันทรารีสอร์ท อ.เมือง จ.นครนายก ทิศทางในการบริหารงานของ พอช. ปี 2561 จะเน้นการพัฒนาคุณภาพงานและการพัฒนาคุณภาพคน ด้วยกระบวนการพัฒนาศักยภาพข้ามส่วนงาน เช่น การชวนเจ้าหน้าที่บริหารงานข้อมูล หารือระบบการทำงานร่วม เพื่อกำหนดประเด็นหรือข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ การจัดทีม IO ของ พอช. ถือเป็นการปรับทีมแนวราบให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และการพัฒนาคนรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาตามตำแหน่งงานสำคัญงานขององค์กร เพื่อเตรียมคนรุ่นใหม่เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ขององค์กร คาดว่าจะมีการประชุมทีมบริหาร ประมาณ 2 ครั้ง/เดือน เช่น ช่วงเช้าประชุมบอร์ด ช่วงบ่ายประชุมงานพื้นที่ วันรุ่งขึ้นประชุมคณะจัดการ โดยจะมีระบบ Conference ไปยังสำนักงานภาค เพื่อให้ทุกคนได้รู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารจากส่วนกลาง รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์กับภาค หากมีผู้นำขบวนองค์กรชุมชนมาประชุมด้วยก็สามารถชวนเข้าร่วมได้เช่นกัน เพื่อเป็นการบริหารสถานการณ์ให้รวดเร็ว — อย่างไรก็ตามในปี 2561 พอช. ยังมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนงานทั้งนโยบายเร่งด่วน นโยบายแรก : การพัฒนาที่อยู่อาศัย ที่ต้องขับเคลื่อนงานให้สอดรับกับแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ที่เสนอผ่าน ครม. ไปเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2560 โดยกำหนดให้ครอบคลุมทุกประเด็น และสำหรับเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตมีการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมต่างๆ สำหรับประชาชนอย่างเท่าเทียม ทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง ผู้ด้อยโอกาส r ทั้งนี้รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติขึ้น โดยมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ที่รับผิดชอบกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง พม. เป็นกรรมการและเลขานุการ  ซึ่งได้มีการเสนอแต่งตั้งรองประธานคนที่ 1, รองประธานคนที่ 2 และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน เรียบร้อยแล้ว และได้การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแหงชาติ 3 คณะ ประกอบด้วย 1) คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผนงานการพัฒนาที่อยู่อาศัย 2) คณะอนุกรรมการด้านการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย และ 3) คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย  เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานในระดับนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจะรวมเรื่องที่ดินข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง r และในระดับพื้นที่ รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยระดับจังหวัด  ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน  พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นเลขานุการและมีเจ้าหน้าที่ พอช. และ เจ้าหน้าที่ กคช. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ  ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานการพัฒนาที่อยู่อาศัยในระดับจังหวัด r การดำเนินงานการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวทาง “โครงการบ้านมั่นคง” ในปี 2561 พอช. เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการบ้านมั่นคง  มีเป้าหมายในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนเมืองและชนบท (ที่ดินส.ป.ก.) ทั่วประเทศ รวม 6,710 ครัวเรือน ครอบคลุมโครงการปทุมธานีโมเดล และชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา งบประมาณ 536.80 ล้านบาท r “โครงการบ้านพอเพียงชนบท” สนับสนุนการซ่อมแซมและปรับปรุงที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่ชนบททั่วประเทศ 15,000 ครัวเรือน งบประมาณ  337.50 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ดำเนินการ 7,537ครัวเรือน เห็นภาพของการพัฒนาโครงการที่เชื่อมโยงงานพัฒนา เช่น มี 700 ตำบล ที่ใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน r การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว ที่มีเป้าหมายในการดำเนินการ ทั้งหมด 52 ชุมชน   7,081 ครัวเรือน ระยะทาง  31.9 กม. ดำเนินการแล้ว 13 ชุมชน จำนวน 915 ครัวเรือน ซึ่งการดำเนินการจะต้องบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และพลังการขับเคลื่อนจากบุคลากร พอช. อย่างเต็มที่เต็มกำลัง นโยบายที่สอง : การส่งเสริมพลังประชารัฐ ในปี 2561 นี้ สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือรูปแบบประชารัฐ 500 ตำบล งบประมาณ  37.50 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมาดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย 500 ตำบล ภายใต้การขับเคลื่อนสัมมาชีพเต็มพื้นที่โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง สู่เศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน เห็นการขับเคลื่อนงานใน 3 คลัสเตอร์ อย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็น คลัสเตอร์ท่องเที่ยวชุมชน คลัสเตอร์แปรรูป และคลัสเตอร์เกษตรอินทรีย์ ซึ่งสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนงานดังกล่าวคือการเชื่อมโยงภาคี และการถอดบทเรียนรูปธรรม พร้อมทั้งนำเสนอพื้นที่ดังกล่าวนี้ออกไปสู่วงกว้างให้มากขึ้น  นโยบายที่สาม : การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย สนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน 500 ตำบล  สมาชิก 3.5 แสนคน และจัดตั้งและพัฒนากิจการสภาองค์กรชุมชน 1,870 ตำบล

          — สำหรับการปฏิรูปประเทศไทย 11 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน  ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม  ด้านการปกครองท้องถิ่น  ด้านการศึกษา  ด้านเศรษฐกิจ  ด้านพลังงาน ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ด้านสื่อสารมวลชน และด้านสังคม  พอช. และขบวนองค์กรชุมชน ได้เข้าไปมีบทบาทเป็นอย่างมาก ซึ่งแนวทางการทำงานที่สอดคล้องกับการปฏิรูปที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น 1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน 4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม 5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยพี่มีข้อคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าว คือ ประการแรก ให้มีการวิเคราะห์การทำงานที่เน้นการสร้างนวัตกรรมการทำงานของ พอช. ควรมีการวิเคราะห์สิ่งที่เราทำได้จริงและเป็นจุดเด่น และเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่ซ้ำกับองค์กรอื่นๆ  ประการที่ 2 วิธีงบประมาณหน่วยงานต้องสร้าง ให้เห็นแบบ output outcome Impact ว่าควรทำอย่างไรบ้าง ที่ไม่ใช่การอธิบายวิธีการทำงานแบบ process และประการสุดท้าย ประเด็นงานที่ พอช. ควรพิจารณาเลือกเพื่อการดำเนินงาน  เช่น 1 ตำบล 1 แผน (ชุมชนเข้มแข็ง) , งานสวัสดิการชุมชน , เศรษฐกิจและชุมชน / ชุมชนผู้ประกอบการ/ สถาบันการเงินชุมชน , สภาองค์กรชุมชน , การจัดการสิ่งแวดล้อมและที่ดินชุมชน เป็นต้น โดยมีการจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการสนับสนุนและเกี่ยวกับกับงานปฏิรูป/จัดทีมสื่อสาร ในเบื้องต้นจะมีเวทีประชุมอนุกรรมการ(ชาติ) ระหว่างวันที่ 21-22 พ.ย. 2560 นี้ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การปฏิรูปและออกแบบร่วมกันในการขับเคลื่อนงานพัฒนาให้สัมพันธ์กับการปฏิรูป ถือว่าโอกาสได้เปิดรับให้ พอช. และพี่น้องขบวนองค์กรชุมชน ได้คิด ทบทวน วิเคราะห์ และนำเสนอรูปธรรมงานพัฒนาที่จะไปสู่การเปลี่ยนแปลง

          — ตั้งแต่ช่วงเดือน ตุลาคม และน่าจะยาวจนถึงสิ้นเดือน พฤศจิกายน เป็นห้วงของน้องๆ พอช. ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเป็น “จิตอาสา” ไม่ว่าจะเป็นงานถวายดอกไม้จันทร์ เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2560 ที่ผ่านมา , กิจกรรม "เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ" ของหน่วยพระราชทานและประชาชนจิตอาสา , กิจกรรม “จิตอาสา พม.” เพื่อให้บริการผู้พิการ/ผู้สูงอายุ/ผู้บกพร่องทางร่างกาย/ชาวเขา พี่ขอชื่นชมทุกคนที่เข้าร่วมเป็นจิตอาสาในทุกจุดทุกงานที่ทำ และขอขอบคุณทุกคนมากๆ ครับ — ในปี 2560   ที่ผ่านมา พวกเราทุกคนได้ร่วมด้วย ช่วยกันดำเนินการตามแผนและร่วมกันจัดทำตัวชี้วัดให้สำเร็จได้ค่อนข้างดี ขอชื่นชมและให้กำลังใจทุกคนมาในโอกาสนี้ r ซึ่งการเลื่อนเงินเดือน ค่าจ้างประจำปี 2560 คณะกรรมการสถาบันฯ ในการประชุมครั้งที่ 10/2560 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 ได้เห็นชอบวงเงินเลื่อนเงินเดือนค่าจ้างในอัตราร้อยละ 6.5 ของเงินเดือนค่าจ้างของผู้มีสิทธิเลื่อนเงินเดือนค่าจ้าง จำนวน 258 คน  เป็นเงิน 556,400 บาทต่อเดือน  และงดการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษการปฏิบัติงานประจำปี เนื่องจากหลักเกณฑ์ของ ก.พ.ร. ได้กำหนดการจ่ายค่าตอบแทนฯ โดย พอช. ต้องหาเงินรายได้สูงกว่าประมาณการรายได้ในปีนั้น และให้จ่ายจากเงินรายได้ที่เหลือจ่ายจากการปฏิบัติงานในปีงบประมาณนั้น ทั้งนี้เงินเดือนใหม่ของทุกคนจะมีผลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะได้รับเงินเดือนค่าจ้างอัตราใหม่ในเดือนธันวาคม 2560 พร้อมเงินตกเบิก r ปี 2560 มีผู้ปฏิบัติงานครบสัญญาจ้าง จำนวน 102 คน สำนักทรัพยากรบุคคลได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การประเมินต่อสัญญาจ้างเรียบร้อยแล้ว และจะนำผลเสนอต่อคณะทำงานบริหารบุคคล ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 และสำนักทรัพยากรบุคคลจะแจ้งผลการต่อสัญญาจ้างแก่ผู้ปฏิบัติงานต่อไป  r สำหรับระบบสารสนเทศการบริหารทรัพยากรบุคคล (HRIS)  ในส่วนของ Self Service ซึ่งประกอบด้วย การบันทึกและขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคล, การลา, การขอปฏิบัติงานนอกเวลา/ปฏิบัติงานในวันหยุด, การขอรับรองเวลา, การตรวจสอบสิทธิการลา ได้เริ่มใช้งานแล้วตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560  เป็นต้นมา  สำหรับปีงบประมาณ 2561 อยู่ระหว่างการจัดซื้อระบบสารสนเทศบริหารทรัพยากรบุคคลเพิ่มเติม พร้อมทั้งปรับปรุงและพัฒนาระบบเดิม ได้แก่ การเบิกจ่ายค่าอาหารฯ และการลา ให้สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและถูกต้องตามระเบียบสถาบันฯ ทั้งนี้การลายังคงใช้ใบลา (Paper) ควบคู่กับการลาผ่านระบบจนกว่าจะพัฒนาระบบแล้วเสร็จ หากผู้ปฏิบัติงานมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน  ก็ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องติดต่อสำนักทรัพยากรบุคคล

          — ขอทิ้งท้ายสำหรับฉบับปฐมบท ด้วยหลักการบริหารจัดการองค์กร คือ ต้องมีหลักธรรมในการดูแลลูกน้อง ต้องให้ความเป็นธรรม ใช้หลักธรรมในการทำงานด้วยความไม่ประมาท มีสติ ระลึกรู้ และการพัฒนาตัวเอง และการทำหน้าที่ของตนเองโดยมองภาพใหญ่ขององค์กร สำนึกต่อการสร้างองค์กร ถ่ายทอดไปสู่น้องๆ เป็นแบบอย่างทั้งอุดมการณ์ ความดี และการปฏิบัติ  ตลอดระยะเวลา 17 ปีที่ผ่านมาอยากให้ระลึกรู้ว่าเราทำงานเพื่อชุมชนฐานราก สุดท้ายก็ขอขอบคุณทุกกำลังใจที่มีให้กัน และขอส่งแรงใจให้พวกเราทุกคนในการ

 

พี่หรั่ง
10 พ.ย. 2560