สวัสดีครับพี่น้อง พอช. ทุกคน ...หลังจากที่ได้ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการ พี่มีความตั้งใจมากที่อยากจะสื่อสารไปยังน้องๆ ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้รับรู้และรับทราบข้อมูลข่าวสารโดยทั่วกัน ในช่วงที่ผ่านมาได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีประชุมกับพวกเราทุกภาค และมีความตั้งใจอยากจะมีเวทีให้พวกเราได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนระหว่างกันให้มากขึ้น ก็ขอใช้ช่องทางการสื่อสารที่เรามีอยู่ทุกช่องทางนี้ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวทั้งระดับนโยบาย สถานการณ์ของสังคม และการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรของเรา ในการสร้างวัฒนธรรม อัตลักษณ์ภาพลักษณ์ขององค์กร เรื่องแรก ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา ทีมผู้บริหาร พอช. ได้ร่วมประชุมเพื่อวางทิศทางการทำงาน ปี 2561 ณ จันทรารีสอร์ท อ.เมือง จ.นครนายก ทิศทางในการบริหารงานของ พอช. ปี 2561 จะเน้นการพัฒนาคุณภาพงานและการพัฒนาคุณภาพคน ด้วยกระบวนการพัฒนาศักยภาพข้ามส่วนงาน เช่น การชวนเจ้าหน้าที่บริหารงานข้อมูล หารือระบบการทำงานร่วม เพื่อกำหนดประเด็นหรือข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ การจัดทีม IO ของ พอช. ถือเป็นการปรับทีมแนวราบให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และการพัฒนาคนรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาตามตำแหน่งงานสำคัญงานขององค์กร เพื่อเตรียมคนรุ่นใหม่เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ขององค์กร คาดว่าจะมีการประชุมทีมบริหาร ประมาณ 2 ครั้ง/เดือน เช่น ช่วงเช้าประชุมบอร์ด ช่วงบ่ายประชุมงานพื้นที่ วันรุ่งขึ้นประชุมคณะจัดการ โดยจะมีระบบ Conference ไปยังสำนักงานภาค เพื่อให้ทุกคนได้รู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารจากส่วนกลาง รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์กับภาค หากมีผู้นำขบวนองค์กรชุมชนมาประชุมด้วยก็สามารถชวนเข้าร่วมได้เช่นกัน เพื่อเป็นการบริหารสถานการณ์ให้รวดเร็ว อย่างไรก็ตามในปี 2561 พอช. ยังมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนงานทั้งนโยบายเร่งด่วน นโยบายแรก : การพัฒนาที่อยู่อาศัย ที่ต้องขับเคลื่อนงานให้สอดรับกับแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ที่เสนอผ่าน ครม. ไปเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2560 โดยกำหนดให้ครอบคลุมทุกประเด็น และสำหรับเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตมีการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมต่างๆ สำหรับประชาชนอย่างเท่าเทียม ทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง ผู้ด้อยโอกาส r ทั้งนี้รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติขึ้น โดยมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ที่รับผิดชอบกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง พม. เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งได้มีการเสนอแต่งตั้งรองประธานคนที่ 1, รองประธานคนที่ 2 และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน เรียบร้อยแล้ว และได้การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแหงชาติ 3 คณะ ประกอบด้วย 1) คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและแผนงานการพัฒนาที่อยู่อาศัย 2) คณะอนุกรรมการด้านการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย และ 3) คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายและที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานในระดับนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งจะรวมเรื่องที่ดินข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง r และในระดับพื้นที่ รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยระดับจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นเลขานุการและมีเจ้าหน้าที่ พอช. และ เจ้าหน้าที่ กคช. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานการพัฒนาที่อยู่อาศัยในระดับจังหวัด r การดำเนินงานการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวทาง “โครงการบ้านมั่นคง” ในปี 2561 พอช. เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการบ้านมั่นคง มีเป้าหมายในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนเมืองและชนบท (ที่ดินส.ป.ก.) ทั่วประเทศ รวม 6,710 ครัวเรือน ครอบคลุมโครงการปทุมธานีโมเดล และชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา งบประมาณ 536.80 ล้านบาท r “โครงการบ้านพอเพียงชนบท” สนับสนุนการซ่อมแซมและปรับปรุงที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่ชนบททั่วประเทศ 15,000 ครัวเรือน งบประมาณ 337.50 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ดำเนินการ 7,537ครัวเรือน เห็นภาพของการพัฒนาโครงการที่เชื่อมโยงงานพัฒนา เช่น มี 700 ตำบล ที่ใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน r การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว ที่มีเป้าหมายในการดำเนินการ ทั้งหมด 52 ชุมชน 7,081 ครัวเรือน ระยะทาง 31.9 กม. ดำเนินการแล้ว 13 ชุมชน จำนวน 915 ครัวเรือน ซึ่งการดำเนินการจะต้องบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และพลังการขับเคลื่อนจากบุคลากร พอช. อย่างเต็มที่เต็มกำลัง นโยบายที่สอง : การส่งเสริมพลังประชารัฐ ในปี 2561 นี้ สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือรูปแบบประชารัฐ 500 ตำบล งบประมาณ 37.50 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมาดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย 500 ตำบล ภายใต้การขับเคลื่อนสัมมาชีพเต็มพื้นที่โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง สู่เศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน เห็นการขับเคลื่อนงานใน 3 คลัสเตอร์ อย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็น คลัสเตอร์ท่องเที่ยวชุมชน คลัสเตอร์แปรรูป และคลัสเตอร์เกษตรอินทรีย์ ซึ่งสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนงานดังกล่าวคือการเชื่อมโยงภาคี และการถอดบทเรียนรูปธรรม พร้อมทั้งนำเสนอพื้นที่ดังกล่าวนี้ออกไปสู่วงกว้างให้มากขึ้น นโยบายที่สาม : การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย สนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน 500 ตำบล สมาชิก 3.5 แสนคน และจัดตั้งและพัฒนากิจการสภาองค์กรชุมชน 1,870 ตำบล
สำหรับการปฏิรูปประเทศไทย 11 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้านการปกครองท้องถิ่น ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านพลังงาน ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ด้านสื่อสารมวลชน และด้านสังคม พอช. และขบวนองค์กรชุมชน ได้เข้าไปมีบทบาทเป็นอย่างมาก ซึ่งแนวทางการทำงานที่สอดคล้องกับการปฏิรูปที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น 1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน 4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม 5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยพี่มีข้อคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าว คือ ประการแรก ให้มีการวิเคราะห์การทำงานที่เน้นการสร้างนวัตกรรมการทำงานของ พอช. ควรมีการวิเคราะห์สิ่งที่เราทำได้จริงและเป็นจุดเด่น และเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่ซ้ำกับองค์กรอื่นๆ ประการที่ 2 วิธีงบประมาณหน่วยงานต้องสร้าง ให้เห็นแบบ output outcome Impact ว่าควรทำอย่างไรบ้าง ที่ไม่ใช่การอธิบายวิธีการทำงานแบบ process และประการสุดท้าย ประเด็นงานที่ พอช. ควรพิจารณาเลือกเพื่อการดำเนินงาน เช่น 1 ตำบล 1 แผน (ชุมชนเข้มแข็ง) , งานสวัสดิการชุมชน , เศรษฐกิจและชุมชน / ชุมชนผู้ประกอบการ/ สถาบันการเงินชุมชน , สภาองค์กรชุมชน , การจัดการสิ่งแวดล้อมและที่ดินชุมชน เป็นต้น โดยมีการจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการสนับสนุนและเกี่ยวกับกับงานปฏิรูป/จัดทีมสื่อสาร ในเบื้องต้นจะมีเวทีประชุมอนุกรรมการ(ชาติ) ระหว่างวันที่ 21-22 พ.ย. 2560 นี้ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การปฏิรูปและออกแบบร่วมกันในการขับเคลื่อนงานพัฒนาให้สัมพันธ์กับการปฏิรูป ถือว่าโอกาสได้เปิดรับให้ พอช. และพี่น้องขบวนองค์กรชุมชน ได้คิด ทบทวน วิเคราะห์ และนำเสนอรูปธรรมงานพัฒนาที่จะไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ตั้งแต่ช่วงเดือน ตุลาคม และน่าจะยาวจนถึงสิ้นเดือน พฤศจิกายน เป็นห้วงของน้องๆ พอช. ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเป็น “จิตอาสา” ไม่ว่าจะเป็นงานถวายดอกไม้จันทร์ เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2560 ที่ผ่านมา , กิจกรรม "เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ" ของหน่วยพระราชทานและประชาชนจิตอาสา , กิจกรรม “จิตอาสา พม.” เพื่อให้บริการผู้พิการ/ผู้สูงอายุ/ผู้บกพร่องทางร่างกาย/ชาวเขา พี่ขอชื่นชมทุกคนที่เข้าร่วมเป็นจิตอาสาในทุกจุดทุกงานที่ทำ และขอขอบคุณทุกคนมากๆ ครับ ในปี 2560 ที่ผ่านมา พวกเราทุกคนได้ร่วมด้วย ช่วยกันดำเนินการตามแผนและร่วมกันจัดทำตัวชี้วัดให้สำเร็จได้ค่อนข้างดี ขอชื่นชมและให้กำลังใจทุกคนมาในโอกาสนี้ r ซึ่งการเลื่อนเงินเดือน ค่าจ้างประจำปี 2560 คณะกรรมการสถาบันฯ ในการประชุมครั้งที่ 10/2560 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 ได้เห็นชอบวงเงินเลื่อนเงินเดือนค่าจ้างในอัตราร้อยละ 6.5 ของเงินเดือนค่าจ้างของผู้มีสิทธิเลื่อนเงินเดือนค่าจ้าง จำนวน 258 คน เป็นเงิน 556,400 บาทต่อเดือน และงดการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษการปฏิบัติงานประจำปี เนื่องจากหลักเกณฑ์ของ ก.พ.ร. ได้กำหนดการจ่ายค่าตอบแทนฯ โดย พอช. ต้องหาเงินรายได้สูงกว่าประมาณการรายได้ในปีนั้น และให้จ่ายจากเงินรายได้ที่เหลือจ่ายจากการปฏิบัติงานในปีงบประมาณนั้น ทั้งนี้เงินเดือนใหม่ของทุกคนจะมีผลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะได้รับเงินเดือนค่าจ้างอัตราใหม่ในเดือนธันวาคม 2560 พร้อมเงินตกเบิก r ปี 2560 มีผู้ปฏิบัติงานครบสัญญาจ้าง จำนวน 102 คน สำนักทรัพยากรบุคคลได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การประเมินต่อสัญญาจ้างเรียบร้อยแล้ว และจะนำผลเสนอต่อคณะทำงานบริหารบุคคล ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 และสำนักทรัพยากรบุคคลจะแจ้งผลการต่อสัญญาจ้างแก่ผู้ปฏิบัติงานต่อไป r สำหรับระบบสารสนเทศการบริหารทรัพยากรบุคคล (HRIS) ในส่วนของ Self Service ซึ่งประกอบด้วย การบันทึกและขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคล, การลา, การขอปฏิบัติงานนอกเวลา/ปฏิบัติงานในวันหยุด, การขอรับรองเวลา, การตรวจสอบสิทธิการลา ได้เริ่มใช้งานแล้วตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560 เป็นต้นมา สำหรับปีงบประมาณ 2561 อยู่ระหว่างการจัดซื้อระบบสารสนเทศบริหารทรัพยากรบุคคลเพิ่มเติม พร้อมทั้งปรับปรุงและพัฒนาระบบเดิม ได้แก่ การเบิกจ่ายค่าอาหารฯ และการลา ให้สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและถูกต้องตามระเบียบสถาบันฯ ทั้งนี้การลายังคงใช้ใบลา (Paper) ควบคู่กับการลาผ่านระบบจนกว่าจะพัฒนาระบบแล้วเสร็จ หากผู้ปฏิบัติงานมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน ก็ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องติดต่อสำนักทรัพยากรบุคคล
ขอทิ้งท้ายสำหรับฉบับปฐมบท ด้วยหลักการบริหารจัดการองค์กร คือ ต้องมีหลักธรรมในการดูแลลูกน้อง ต้องให้ความเป็นธรรม ใช้หลักธรรมในการทำงานด้วยความไม่ประมาท มีสติ ระลึกรู้ และการพัฒนาตัวเอง และการทำหน้าที่ของตนเองโดยมองภาพใหญ่ขององค์กร สำนึกต่อการสร้างองค์กร ถ่ายทอดไปสู่น้องๆ เป็นแบบอย่างทั้งอุดมการณ์ ความดี และการปฏิบัติ ตลอดระยะเวลา 17 ปีที่ผ่านมาอยากให้ระลึกรู้ว่าเราทำงานเพื่อชุมชนฐานราก สุดท้ายก็ขอขอบคุณทุกกำลังใจที่มีให้กัน และขอส่งแรงใจให้พวกเราทุกคนในการ
พี่หรั่ง
10 พ.ย. 2560